2007年5月24日木曜日

à¸à¸²à¸£à¸¥à¸°à¹à¸¥à¹à¸à¸ à¸²à¸à¸à¸°à¸§à¸±à¸à¸­à¸­à¸à¹à¸à¸µà¸¢à¸à¹à¸«à¸à¸·à¸­

การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

"การละเล่นภาคะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน" ซึ่งนอกจากชาวไทยแล้วยังมีชาวพื้นเมืองที่มีเชื้อสายเขมร เชื้อสายภูไท หรือผู้ไทย ลาว กุย แสก โซ่ง ฯลฯ การละเล่นพื้นเมืองจึงมีหลายประเภท เช่น
การละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางจังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ หนองคาย เลย และเพชรบูรณ์ บางแห่งเรียก "แข่งกลอง" ซึ่งเป็นการแข่งขันการตีกลองคู่ด้วยไม้ค้อนสองมือ กลองลูกหนึ่งจะหนักมาก ใช้คนหาม 2 คน สนามแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในวัด ตัดสินโดยการฟังเสียงกังวานที่ดังก้องสลับกัน ประกอบด้วยท่าตีที่สวยงาม เจ้าของกลองมักจะเป็นวัดในแต่�! �ะหมู่บ้านที่สร้างกลองชนิดนี้ไว้ นิยมเล่นในเทศกาลเดือนหก จนถึงเข้าพรรษา
การละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการร่ายรำหมู่ ทั้งหมู่หญิงล้วน ชายล้วน และผสมทั้งชายหญิง เซิ้งเป็นคู่ ตั้งแต่ 3-5 คู่ เครื่องดนตรีประกอบการเล่นได้แก่ แกร๊ป โหม่ง กลองแตะ และกลองยาว ลีลาของการเซิ้งต้องกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตรากตรำทำงา! น กระบวนการเล่นเซิงจะนำสภาพการดำรงชีวิตมาดัดแปลงเป็นลีลาท่ารำ เช่น นำลักษณะการจับปลาโดยใช้สวิงมาประดิษฐ์เป็นลีลาการเล่น "เซิ้งสวิง" นำเอาอากัปกิริยาของหญิงสาวชาวบ้าน ที่นำอาหารใส่กระติบไปส่งสามีและญาติที่กลางไร่กลางนา มาประดิษฐ์เป็นลีลาท่า "เซิ้งกระติบข้าว" หรอนำการออกไปตีรังมดบนต้นไม้ เพื่อนำมาประกอบอาหาร มาระดิษฐ์เป็น "เซิ้งแหย่ไข่มด�! ��ดง" ปัจจุบันเซิ้งได้วิว� ��ฒนาการตามยุคสมัย มีการคิดท่าใหม่ๆขึ้นอีกมาก เรียกชื่อแตกต่างกันตามลักษณะของการเลียนแบบสภาพวัฒนธรรมที่มีอย่ในพื้นเมืองนั้นเป็นหลัก เช่น เซิ้งโปง เซิ้งกระหยัง เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสุ่ม ฯลฯ และไม่ว่าจะคิดท่าใดๆขึ้น ลักษณะของเซิ้งก็จะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไว้ในลีลาการเต้น ท่าเดิมไม่แตกต่างกันเลย
เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ตามประวัติแต่โบราณใช้สำหรับขับร้องประกอบการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีวิวัฒนาการของการเล่นคลายกับการเล่นเพลงปฏิพากย์ ในภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า "กลองกันตรึม" เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็น! เสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน เล่นได้ทุกโอกาสไม่กำหนดว่าเป็นงานมงคลหรืออวมงคล วงดนตรีประกอบด้วย กลอง ซอ ปี่อ้อ ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ ฉาบ กล่าวกันว่า ท่วงทำนองของเพลงกันตรึมมีกว่า 100 ทำนอง บทเพลงจะเกี่ยวกับเรื่อเบ็ดเตล็ด ตั้งแต่เกี้ยวพาราสี โอ้โลม ชมธรร�! �ชาติ แข่งขันปฏิภาณ สู่ขว� ��ญ เล่าเรื่อง ฯลฯ การแต่งกายแต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น เสื้อแขนกระบอก ผ้าสไบเฉียงห่มทับ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอวและพาดหล่
การละเล่นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เดินขาโกกเกก มักใช้ไม้ไผ่เป็นไม้ค้ำ มีง่ามสองอันสำหรับยืนเหยียบเพื่อใช้เดินต่างเท้า เวลาเดินมีเสียงดัง ก้าวจะยาว มักใชแข่งเรื่องความเร็ว

การละเล่นกลองเส็ง,กลองสองหน้า
โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ วิวัฒนาการมาจากเกราะหรือขอลอ ตีเพื่อให้เกิดเสียงดัง โปง หมายถึง เสียงของโปง ลาง หมายถึงสัญญาณบอกลางดีหรือลางแห่งความรื่นเริง โปงลาง จึงหมายถึง เครื่องดนตรีที่มีเสียงแห่งลางดี ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เรียงร้อยกัน 12 ท่อน ใช้แขวนเวลาตี การบรรเลงใช้คน 2 คน ตีเข้าจังหวะเร็ว รุกเร้าด้วยความสนุกสนาน มักจะเล่นเ�! ��้าวงกัน
เซิ้ง
กันตรึม
เดินไม้สูง

แหล่งข้อมูลอื่น
เดินขาโถกเถก
การละเล่นพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร

0 件のコメント: