2007年9月29日土曜日

มัวริส วิลค์ส
เซอร์ มัวริส วิลค์ส (Sir Maurice Wilkes) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2456 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี-เอก ด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทำงานในมหาวิทยาลัยในสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณ ต่อมาถูกเรียกตัวเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองในงานเกี่ยวกับเรดาร์ พอสงครามสงบก็กลับมาทำงานในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ดังเดิม
พ.ศ. 2488 มัวริสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางด้านคำนวณ (Mathemetical Laboratory) ซึ่งต่อมาภายหลังสถาบันนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น คณะคอมพิวเตอร์ (Computer Laboratory) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่แรกในโลกที่เริ่มทำการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่คณะคอมพิวเตอร์เป็นอิสระออกมาได้ เพราะสมัยที่เป็นสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณนั้น เป็นแหล่งกำเนิดพื้นฐานของคอมพิวเตอร์พอสมควร (เช่น ทฤษฏีทัวริ่ง, เครื่อง Differential Analyser ของแบบเบจ หรือ ภาษาเครื่องของเอดา) อีกทั้งในยุคของมัวริส สามารถนำทฤษฏีเหล่านี้มาประยุกต์สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (stored program computer) คือมีหน่วยความจำ (memory) สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลกชื่อ EDSAC ในปี พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2494 มัวริสนำเสนอชุดข้อมูลขนาดเล็ก (microprogram) ให้หน่วยประมวลผลกลาง สามารถนำชุดข้อมูลในหน่วยความจำแบบรอมออกมาให้เรียกใช้ทำงานได้รวดเร็วขึ้นใน EDSAC II และถัดมาก็นำเสนอเครื่อง Titan ซึ่งมีระบบปฏิบัติการแบบแบ่งเวลา (time-sharing) ซึ่งสามารถจำรหัสของผู้ใช้แต่ละคนได้ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของการเข้ารหัสในระบบ UNIX (Multi-users Operating System) นอกจากนี้ มัวริสยังมีส่วนในโครงสร้างพื้นฐานของภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่นนำเสนอหลักการใช้สัญลักษณ์, Macro, Subroutines และ Libraries ในหนังสือ "Preparation of Programs for Electronic Digital Computers"
พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของราชบัณฑิตยสถาน (Royal Society)
พ.ศ. 2510 ได้รับรางวัลทัวริ่ง (Turing Award)
พ.ศ. 2522 นำเสนอ A Swiss data network ซึ่งเป็นการวางระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology network) เพื่อการแชร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และเริ่มนำออกเผยแพร่ทั่วประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2523 เกษียณอายุการทำงานในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีคณะคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
พ.ศ. 2543 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวิน (Knight)
พ.ศ. 2545 ได้รับเชิญให้กลับมาเป็นศาสตราจารย์พิเศษ (Emeritus Professor) ให้คณะคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

0 件のコメント: