2007年10月6日土曜日


เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หรือชื่อเต็ม จอห์น โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (John Ronald Reuel Tolkien นามปากกาว่า J. R. R. Tolkien ) (3 มกราคม พ.ศ. 24352 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นผู้แต่งเรื่องฮอบบิท และลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งเป็นนวนิยายภาคต่อเนื่องกัน
โทลคีนเข้าศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนคิงเอดเวิดส์ เมืองเบอร์มิงแฮม และ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทำงานเป็นผู้อ่านตรวจทานภาษาอังกฤษที่ มหาวิทยาลัยลีดส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 - 2468 และเป็นศาสตราจารย์สาขาแองโกล-แซกซอน ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 1945 ทั้งยังเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ที่อ๊อกซฟอร์ดเช่นกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - 2502
โทลคีนนับเป็นชาวคาทอลิกที่เคร่งครัด เป็นสมาชิกของกลุ่มที่ชุมนุมเพื่อถกเถียงด้านวรรณกรรม ชื่อ อิงคลิงส์ (Inklings) และได้รู้จักสนิทสนมกับ ซี. เอส. ลิวอิส นักเขียนนวนิยายและวรรณกรรมเยาวชน เรื่องตำนานแห่งนาร์เนีย ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอังกฤษ
เรื่องที่ตีพิมพ์ในช่วงชีวิตโทลคีนนั้นมีจำนวนน้อยมาก แต่เรื่องส่วนมากนั้น ลูกชายของโทลคีน คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้นำเรื่องที่บิดาของตนแต่งออกไปตีพิมพ์ จึงทำให้เรื่องเหล่านั้นโด่งดังมาก จนมีผู้คนขนานนามให้ว่า บิดาแห่งแฟนตาซีสมัยใหม่ระดับสูง (father of the modern high fantasy genre)

ประวัติ
เท่าที่ได้ทราบมา ตระกูลของโทลคีนนั้น เป็นตระกูลของจิตรกร มีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองเซโซนี ประเทศเยอรมนี แต่ได้อพยพย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในอังกฤษตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 18 นามสกุลโทลคีนนั้น ได้เปลี่ยนจากภาษาเยอรมันคำว่า "Tollkiehn" (tollkühn) มาเป็น Tolkien เพื่อให้เข้ากับภาษาอังกฤษ โทลคีนได้แต่งงานกับนางสาว เอดิธ แมรี่ แบรท และมีลูกด้วยกันถึง 4 คน ได้แก่ จอร์น ฟรานซิส รูเอล (17 พ.ย. พ.ศ. 2460 – 22 ม.ค. พ.ศ. 2546) ไมเคิล ไฮลารี รูเอล (ต.ค. 2463–2527) คริสโตเฟอร์ จอร์น รูเอล (2467 – ) และ พริสซิวล์ลา แอนน์ รูเอล (2472 – )

ครอบครัว
โทลคีนเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ในเมือง Bloemfontein ในรัฐอิสระ ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นบุตรของ อาเธอร์ รูเอล โทลคีน (พ.ศ. 2400-2439, ค.ศ. 1857–1896) นายธนาคารอังกฤษ กับภรรยา มาเบล นี สัฟเฟล (พ.ศ. 2413-2447, ค.ศ. 1870–1904) โทลคีนมีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ ฮิลารี อาเธอร์ รูเอล ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894)
ในขณะที่อาศัยอยู่ในอัฟริกาใต้ เขาได้ถูกแมงมุมในสวนของเขากัด ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้โทลคีนนำไปรวมแต่งเป็นเหตุการณ์กับเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์
เมื่ออายุได้ 3 ปี โทลคีนได้ไปประเทศอังกฤษกับแม่ ซึ่งในขณะนั้นพ่อของเขาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคไขข้ออักเสบไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ครอบครัวไม่มีรายได้ ดังนั้นแม่ของเขาจึงต้องนำตัวเขาให้ไปอยู่อาศัยกับตายายของโทลคีนในเมืองเบอร์มิงแฮม เขายังได้ย้ายไปอยู่อาศัยในเมืองอื่น ๆ รอบ ๆ ด้วย ซึ่งทำให้เขาสามารถคิดฉากในเรื่องที่เขาจะแต่งได้ในอนาคตอีกด้วย
พี่น้องตระกูลโทลคีนนี้ฉลาดหลักแหลมมาก แม่ของพวกเขาสอนเรื่องพฤกษศาสตร์ให้แก่พวกเขา ซึ่งทำให้ทั้ง 2 คนทราบข้อมูลเกี่ยวกับพืชได้ดีมาก แต่วิชาที่โทลคีนสนใจที่สุดก็คือวิชาภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะภาษาลาติน ซึ่งเขาสามารถอ่านออกได้ตั้งแต่มีอายุได้ 4 ปี และเขียนได้หลังจากนั้นอีกไม่นาน
ในปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) แม่ของโทลคีนได้หันมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก ในขณะที่ครอบครัวของเธอเองได้คัดค้านอย่างรุนแรง เธอได้เสียชีวิตลงด้วยโรคเบาหวานในอีก 4 ปีต่อมา ซึ่งเป็นเวลาที่โทลคีนมีอายุได้ 12 ปี โทลคีนยังรู้สึกอีกว่าเขาได้รับอิทธิพลในการนับถือนิกายโรมันคาทอลิกจากแม่อย่างมากอีกด้วย เขาได้ถูกนำตัวไปอยู่อาศัยกับบาทหลวงฟรานซิส ซาเวียร์ มอร์แกน หลังจากที่แม่ของเขาได้เสียชีวิตลงไป ซึ่งทำให้เขาได้รับอิทธิพลจากหอคอยวิกตอเรียมาเป็นหอคอยสีดำในเรื่องที่เขาจะแต่ง อิทธิพลอย่างแรงอีกอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เขาเขียนเรื่องออกมาได้ก็คือ งานแสดงภาพที่เมืองเบอร์มิงแฮม

วัยเด็ก
เมื่อโทลคีนมีอายุได้ 16 ปี เขาได้ตกหลุมรักกับเด็กสาว ผู้ซึ่งแก่วัยกว่า 3 ปีนามว่า เอดิธ เมรี่ แบรท แต่บาทหลวงฟรายซิสห้ามให้เขาไปคุยกับนาง จนกว่าจะมีอายุได้ 21 ปี และเขาก็ปฏิบัติิตัวเช่นนั้นอย่างเคร่งครัดเลยทีเดียว
ในปี พ.ศ. 2454(ค.ศ. 1911)ในขณะที่เรียนอยู่ใน โรงเรียนคิงเอ็ดเวิร์ด เบอร์มิงแฮม โทลคีน และเพื่อนอีก 3 คน รอบ กิบสัน, เจฟฟี่ สมิธ และคริสโตเฟอร์ ไวส์แมน ได้ตั้งสมาคมรับ the T.C.B.S. ย่อมาจาก Tea Club and Barrovian Society ซึ่งมีที่มามาจากการชื่นชอบในการดื่มน้ำชาของทั้ง 4 ในร้านบาร์รอ(Barrow's Stores) ห้องสมุดของโรงเรียน หลังจากออกจากโรงเรียน ถึงออกจากโรงเรียนแล้วก็ยังติดต่อกันอยู่เหมือนเดิม และในเดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ทั้ง 4 ก็ได้มารวมตัวประชุมกันอีกครั้งที่บ้านไวส์แมน สำหรับโทลคีนแล้ว การพบกันครั้งนี้ เป็นการได้รับแรงบันดาลใจที่จะเขียนนวนิยายของเขา
ฤดูร้อนปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) โทลคีนได้ไปเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในจดหมายฉบับหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1968 (เป็นเวลาผ่านไปถึง 57 ปี) ว่า การผจญภัยในเรื่องฮอบบิทของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ในเทือกเขามิสตี้ มาจากการเดินทางของเขาในเทือกเขาแอลป์ และยอดเขาจุงฟราว กับซิลเวอร์ฮอร์น ก็เป็นแรงบันดาลใจสำหรับยอดเขาซิลเวอร์ไทน์ (เคเล็บดิล)
ในคืนวันเกิดอายุ 21 ปีของโทลคีน เขาได้เขียนจดหมายถึงเอดิธ หญิงสาวที่รัก เพื่อจะขอให้แต่งงานกับเขา แต่เธอได้บอกกับเขาว่า ได้หมั้นกับผู้ชายคนหนึ่งไว้แล้ว เพราะคิดว่าโทลคีนลืมเธอไป ทั้ง 2 มาพบกันใต้สะพานรถไฟเก่าๆ และคิดที่จะฟื้นความสัมพันธ์กันใหม่ เอดิธ จึงนำแหวนไปคืนชายคนนั้น และตัดสินใจที่จะมาแต่งงานกับโทลคีน หลังจากนั้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2456 ทั้ง 2 ก็หมั้นกันในเมืองเบอร์มิงแฮม และเมื่อถึงวันที่ 22 มีนาคม ของอีก 3 ปีต่อมา ทั้ง 2 ก็แต่งงานกัน ในประเทศอังกฤษ แล้วจึงแต่งงานกัน
หลังจากจบปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915)แล้ว เขาได้ไปเข้าร่วมกับกองทัพอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพที่ 11 แห่ง Lancashire Fusiliers มียศเป็นร้อยตรี กองพันของเขาได้ย้ายไปประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1916 ปีเดียวกันที่แต่งงาน เขาได้ทำงานเป็นพนักงานการสื่อสาร จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม เขาได้ล้มป่วยเป็นไข้กลับ และได้กลับไปอังกฤษในวันที่ 8 พฤศจิกายน เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนสนิทของเขาหลายคนได้ถูกสังหารในระหว่างสงคราม ในระหว่างที่รอพักฟื้น โทลคีนได้เขียนนวนิยายเรื่องแรกของเขา The Book of Lost Tales เริ่มต้นด้วยการล่มสลายของกอนโดลิน

วัยหนุ่ม
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โทลคีนก็ได้ไปเป็นพนักงานในเครือพจนานุกรมอังกฤษอ็อกฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) เขาได้มาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม มหาวิทยาลัยลีดส์ และ อีก 4 ปีต่อมา เขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ แต่หลังจากนั้นอีกปี เขาก็กลับไปที่อ็อกฟอร์ด ในฐานะศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยเพมโบรค
ในระหว่างที่อยู่เพมโบรค โทลคีนได้เขียนเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ 2 ตอน
ในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โทลคีนย้ายไปสอนที่วิทยาลัยเมอร์ตัน เมืองอ็อกฟอร์ด ไปเป็นศาสตราจารย์อักษรศาสตร์ จนถึงปลดเกษียนเมื่อปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โทลคีนได้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์เสร็จ 1 ปีที่แล้ว หลังเว้นพักการเขียนประมาณ 10 ปี
เมื่อถึงทศวรรษที่ 1950 โทลคีนได้กลับไปอยู่อาศัยกับลูกชายคนโตของเขา จอร์น ฟรานซิส ในเมือง Stoke-on-Trent ประเทศอังกฤษ โทลคีนไม่ชอบการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างมาก เนื่องจากเขาคิดว่ามันได้ทำลายบ้านนอกของอังกฤษแล้ว ในวัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ เขาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการขี่รถ และหันมาขี่จักรยานแทน อิทธิพลนี้จึงสามารถเห็นได้ในเรื่องของเขา ตอนที่ไชร์ถูกบุกรุกด้วยอุตสาหกรรม

ปลดเกษียนและวัยชรา

เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน วรรณกรรม

พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) Translations of Sir Gawain and the Green Knight, Pearl (poem) and Sir Orfeo
พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) A Tolkien Miscellany
พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) The Father Christmas Letters
พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) ซิลมาริลลิออน (The Silmarillion)
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) รูปที่ถ่ายโดยโทลคีน
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) นิทานไม่รู้จบแห่ง นูเมนอร์ และมิดเดิลเอิร์ธ (Unfinished Tales of Númenor and Middle-earth)
พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) กลอน และ นิทาน (ทั้งหมดของ การผจญภัยของทอม บอมบาดิลล์ The Homecoming of Beorhtnoth Beorhthelm's Son, On Fairy-Stories, Leaf by Niggle, Farmer Giles of Ham and Smith of Wootton Major)
พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) จดหมายของโทลคีน
พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) The Old English Exodus Text
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) Finn and Hengest: The Fragment and the Episode
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) Mr. Bliss
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) The Monsters and the Critics (เรียงความ)
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983)-พ.ศ. 2538(ค.ศ. 1995) ประวัติมิดเดิลเอิร์ธ:

  • The Book of Lost Tales 1 (1983)
    The Book of Lost Tales 2 (1984)
    The Lays of Beleriand (1985)
    กำเนิดมิดเดิลเอิร์ธ (The Shaping of Middle-earth) (1986)
    ถนนอันสาบสูญ และเรื่องอื่นๆ (The Lost Road and Other Writing)s (1987)
    เงาที่หวนคืน (The Return of the Shadow) (The History of The Lord of the Rings vol. 1) (1988)
    กบฎไอเซนการ์ด (The Treason of Isengard (The History of The Lord of the Rings vol. 2) (1989)
    สงครามแหวน (The War of the Ring) (The History of The Lord of the Rings vol. 3) (1990)
    การพ่ายแพ้ของเซารอน (Sauron Defeated) (The History of The Lord of the Rings vol. 4, including The Notion Club Papers) (1992)
    แหวนมอร์กอธ (Morgoth's Ring) (1993)
    สงครามอัญมณี (The War of the Jewels) (1994)
    พลเมืองแห่งมิดเดิลเอิร์ธ (The Peoples of Middle-earth) (1996)
    พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) J. R. R. Tolkien: Artist and Illustrator (ภาพวาดฝีมือโทลคีน)
    พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) Roverandom
    พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) Finn and Hengest
    พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) Beowulf and the Critics ed. Michael D.C. Drout

0 件のコメント: