ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดใน
ประเทศไทย และ เป็น
เชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ
ชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสาย
จีน มีประมาณ 8 ล้านคนใน
ประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
ชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนมากบรรพบุรษจะมาจาก
จังหวัดแต้จิ๋ว ใน
มณฑลกวางตุ้ง ทาง
ตอนใต้ของจีน พูด
ภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่ม
หมินหนาน รองลงมาคือมาจาก
แคะ ฮกเกี้ยน และ
ไหหลำ ชาวจีนทางตอนใต้ของ
ประเทศจีนมักประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวน ทำไร่ ฯลฯ จีนทางตอนใต้เหล่านี้ถือว่าเป็นชาวจีนที่ยากจน ไม่ได้เรียนหนังสือ มีความรู้น้อย ชีวิตที่ประเทศจีนอยู่อย่างลำบากยากจน จึงแสวงหาถิ่นที่อยู่ที่ดีกว่า การอพยพจึงเป็นทางออก และ ย่าน
เยาวราชเป็นหนึ่งในย่านที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุด
กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน แต้จิ๋ว (潮州 ; Teochew ;
ภาษาจีนกลาง: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบๆ
แม่น้ำเจ้าพระยา ได้มาที่สยามตั้งแต่ยุค
กรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยมาจาก
มณฑลฝูเจี้ยน และ
มณฑลกวางตุ้ง ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน
การเงิน ร้านขายข้าว และ
ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง(Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจาก
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน และในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ชาวแต้จิ๋วจึงอยู่ที่สำเพ็ง และเยาวราช
แต้จิ๋ว แคะ (客家 ; Hakka ;
ภาษาจีนกลาง: kèjiā) เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจาก
มณฑลฝูเจี้ยนเป็นส่วนมาก จะ
อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบ
จังหวัดสงขลา และ
จังหวัดภูเก็ต ส่วนมากจะชำนาญทางด้าน
หนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่ง
แคะ ไหหลำ (海南 ;
ภาษาจีนกลาง: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะ
ไหหลำของจีน จะ
ชำนาญทางด้าน
ร้านอาหาร และ
โรงงาน ไหหลำ ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน (福建 ; Hokkien ;
ภาษาจีนกลาง: Fújiàn) จะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือ รับราชการ ส่วนมากจะมีตระกูลสูงกว่า และเข้ามาอาศัยในสมัยอยุธยามากที่สุด
ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ประวัติศาสตร์ของการที่ชาวจีนอพยพมา
ประเทศไทย ต้องย้อนกลับไปหลายร้อยปี
ประวัติ ชาวจีนเริ่มเดิน
เรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัย
อาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะ
เครื่องสังคโลก สมัยสุโขทัย ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่มาก โดยส่วนมากจะมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า
สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้นเสีย
กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ระหว่างปี
พ.ศ. 2310 -
พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดย
พม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าใน
อาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลครึ่งไทยจีนนาม "สิน" ซึ่งมีบิดานาม ไหฮอง เป็นชาวจีน
แต้จิ๋วและมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาว
สยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้
สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้น
ครองราชย์เป็น
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง
เมื่อ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงขึ้น
ครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และ
อพยพมายัง
กรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากร
ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็น
ชาวจีนโพ้นทะเล สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภาษาไทย และ
ภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่คล้ายกัน จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้
ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำภาษาจีนจำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาว
แต้จิ๋วที่อยู่ใน
กรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติได้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ปัจจุบัน กระแสความนิยม
ภาษาจีนกลาง กำลังมีสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และ
ฮ่องกง ไต้หวัน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากประเทศ
ไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ
ภาษาและวัฒนธรรม ในปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์
ภาษาจีนใน
ประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน
หนังสือพิมพ์ภาษาจีน ในประเทศไทยก็มีโรงเรียนจีน แต่มีถึงแค่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โด่งดังที่สุด ได้แก่
โรงเรียนเผยอิง ในย่าน
เยาวราช ที่มาของคำว่า
"เรียบร้อยโรงเรียนจีน" นั้น มาจากการบุกตรวจค้นโรงเรียนจีนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งซ่องสุมและเผยแพร่ลัทธิ
คอมมิวนิสต์ เมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว
ศาสนาและความเชื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
นาย
ชวน หลีกภัย -
นายกรัฐมนตรี (
พ.ศ. 2534 -
พ.ศ. 2538 ,
พ.ศ. 2540 -
พ.ศ. 2544) มีเชื้อสายจีน
ฮกเกี้ยน พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร -
นายกรัฐมนตรี (
พ.ศ. 2544 -
พ.ศ. 2549) ไม่ใช่จีนแท้ๆ แต่ก็มีเชิ้อสายจีน
แคะ นาย
ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว - นักร้องนักดนตรี
เพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง มีเชื้อสายจีน
แต้จิ๋ว นาย
สนธิ ลิ้มทองกุล - ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการและสื่อในเครือผู้จัดการ มีเชื้อสายจีน
ไหหลำ